วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อุตสาหกรรมแร่

อุตสาหกรรมแร่   
เป็นวิธีแยกแร่โลหะบริสุทธิ์ออกจากสินแร่ด้วยวิธีถลุงแร่
แร่เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดย
กระบวนการทางธรณีวิทยาภายในโลกและพื้นผิวโลก 


แร่ คือ ธาตุหรือสารประกอบที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยมีองค์ประกอบเป็นช่วง มีโครงสร้างสมบัติเฉพาะตัว

สินแร่ คือ กลุ่มของแร่ต่างๆที่มีปริมาณมากพอในเชิงเศรษฐกิจซึ่งสามารถใช้เป็นวัตถุดิบนำไปหลอมเหลวหรือ ถลุงเพื่อให้ได้โลหะ 

        นอกจากนี้อาจจำแนกแร่ตามประโยชน์ในทางเศรษฐกิจได้เป็น 2 ประเภท

        1. แร่ประกอบหิน  หมายถึง  แร่ที่เป็นส่วนประกอบของหิน เช่น 
                -  หินแกรนิตปนะกอบด้วยแรควอตซ์  แร่เฟลด์สปาร์และแร่ไมกา
                -  หินปูนประกอบไปด้วยแร่แคลไซต์จะกระจายแทรกอยู่ในเนื้อหินและแยกใช้  ประโยชน์ได้ยาก จึงต้องนำหินเหล่านั้นมาใช้โดยตรง เช่น นำหินปูนมาใช้ในกระบวนการผลิต ปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง

        2. แร่เศรษฐกิจ  หมายถึง แร่ที่มีค่าทางเศรษฐกิจและมีปริมาณมากพอที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมต่างๆได้ 
                แร่ชนิดนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

                2.1 แร่โลหะ แร่โลหะมีพียงไม่กี่ชนิดที่เกิดเป็นธาตุอิสระ เช่น ทองคำ ทองแดง เงิน แพลทินัม แต่ส่วนใหญ่จะพบแร่โลหะในรูปสารปะกอบพวกออกไซด์ คาร์บอเนตหรือซัลไฟต์  และเรียกแร่ที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบเป็นจำนวนมากและคุ้มค่าต่อการลงทุนว่า สินแร่

                2.2 แร่อโลหะ  ตัวอย่างแร่อโลหะในประเทศไทย เช่น แร่เฟลด์ปาร์ ฟลูออไรด์ โพแทซ ยิบซัม แบไรต์ ดินขาว แกรไฟต์ ใยหิน แคลไซต์ ทัลต์ หินปูน หินอ่อน ทรายแก้ว แร่รัตนชาติรวมทั้งแร่ เชื้อเพลิง ซึ่งได้แก่ ถ่านหิน หินน้ำมัน ปิโตรเลียม

                การถลุงแร่ คือ  การทำให้โลหะแยกตัวออกจากสินแร่ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในการถลุงแร่เป็น  ปฏิกิริยารีดอกซ์ ส่วนใหญ่ใช้คาร์บอนเป็นตัวรีดิวซ์ โลหะในสินแร่จะถูกรีดิวส์กลายเป็นโลหะอิสระ หรือสกัดด้วยตัวทำละลาย วิธีใช้ไฟฟ้า 

ตัวอย่างแร่อุตสาหกรรม





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น